ชวนวางแผนรายได้ร้านอาหาร ทำตั้งแต่ต้นปี รู้รายจ่าย รู้รายได้ มีชัยไปกว่าครึ่ง

ในทุก ๆ ช่วงปลายปีถึงต้นปีมีสิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบการร้านอาหารควรจะทำเพื่อให้ปีใหม่ที่จะมาถึงกิจการมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา นั่นก็คือการทำ “Sales Projection” ซึ่งร้านอาหารระดับเชนเรสเตอรองท์จะให้ความสำคัญกับการทำ “Sales Projection” มาก คือการตั้งเป้ายอดขาย และร้านอาหารระดับ SME ที่ต้องการเติบโตก็จำเป็นต้องให้ความสำคัญการทำ “Sales Projection” เช่นกัน

            ซึ่งในการจะทำ “Sales Projection” นั้นผู้ประกอบการร้านอาหารจำเป็นต้องรู้ว่าจุดคุ้มทุน (Break Even Point) ของร้านอยู่ที่เท่าไหร่ ต้องมียอดขายเท่าใด และต้นทุนที่ต้องควบคุมเท่าใดเพื่อไม่ให้ร้านขาดทุน โดยการจะทราบจุดคุ้มทุนได้ ก็ต้องมาจากการทำบันทึกงบกำไร-ขาดทุนเมื่อรู้จุดคุ้มทุน เมื่อมีข้อมูลบันทึกงบกำไร-ขาดทุนของทั้งปีแล้ว จึงจะนำข้อมูลที่มีมาตั้งเป็นโจทย์แล้วใช้ “Sales Projection” มาเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในการเป็นเป้าหมายเพิ่มยอดขายให้ผ่านจุดคุ้มทุน หรือทำยอดขายให้มากขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา

การตั้ง “Sales Projection” หรือ เป้าของยอดขาย โดยปกติมักจะทำกันในช่วง Q4 หรือเดือนตุลาคมเป็นต้นไป เพื่อตั้งเป้าหมายในปีหน้าว่าจะต้องทำยอดขายต่อปีให้ได้เท่าใด ซึ่งหากที่ผ่านมาใครยังไม่เคยทำ หรือ ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นทุนอย่างไร บทความนี้เรามีแนวทางตัวอย่างวิธีการทำ“Sales Projection”แบบพื้นฐานมาให้แนะนำสามารถนำไปประยุกต์ใช้กันได้ เพื่อให้ปีหน้าเป็นปีที่มียอดขายดีกว่าปีนี้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ไม่ต่ำกว่าปีที่ผ่านมา

การตั้งเป้ายอดขายแบบพื้นฐาน (Basic Plan Project Sales)โดยการตั้งเป้าของยอดขายนั้นต้องดูวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

ในกรณีที่ผู้ประกอบการมีการบันทึกยอดขายและการทำงบกำไร/ขาดทุน (P&L) ไว้อยู่แล้วนั้น ให้นำข้อมูลมาเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการตั้งเป้ายอดขายได้ และทำการปรับเพิ่มโดยอิงจากวัตถุประสงค์ 4 ข้อที่กล่าวมา และพิจารณาเพิ่มในส่วนปัจจัยภายนอกที่เราพอคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้าได้ เพราะสิ่งเหล่านั้นจะส่งผลกระทบต่อยอดขายและการควบคุมต้นทุนเรา ยกตัวอย่าง

  • สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 จะยังคงมีอยู่ต่อไปหรือไม่
  • ความรุนแรงของสถานการณ์การประท้วงทางการเมือง สำหรับร้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงการชุมนุม
  • หากในปีหน้าจะมีห้างใหม่มาเปิดบริเวณใกล้ ๆ ทำเลที่เราเปิดร้านอยู่ ก็อาจเป็นปัจจัยทั้งบวกหรือลบ ที่จะทำให้ร้านเรามียอดขายเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้
  • ปีแล้วน้ำท่วม หรือ แล้งจัด ผลผลิตทางการเกษตรเสียหายหนัก อย่างนี้ก็คาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าปีนี้วัตถุดิบจากการเกษตรจะมีราคาสูง

ดังนั้น ต้นทุนต่าง ๆ หรือ ยอดขายที่เราคาดการณ์ไว้ก็อาจจะไม่เป็นไปอย่างที่คิดซึ่งเมื่อเราวิเคราะห์เพิ่มเติมเรียบร้อยแล้ว เราก็จะกำหนด เป้าของยอดขายในปีหน้า

ตัวอย่าง : ยอดขายประมาณการณ์ปี 25563 คาดว่าขายได้อยู่ที่ 4,500,000 บาท โดยมีกำไรอยู่ที่ 6% ปีหน้าตั้งเป้ายอดขายโตขึ้น 7% คิดเป็น 4,815,000 บาท และมีกำไรโตขึ้นอยู่ที่ 10%

เมื่อเรามีเป้าของยอดขายในปีหน้าแล้ว สิ่งที่เราจะทำต่อไปก็คือ

1.เกลี่ยยอดขายลงในแต่ละเดือน โดยให้อ้างอิงจากยอดขายในปีที่ผ่านมา ซึ่งไม่จำเป็นว่าในแต่ละเดือนจะต้องมียอดขายโตขึ้นเท่ากันทุกเดือนบางเดือนยอดขายอาจเท่าปีที่ผ่านมาก็ได้ บางเดือนอาจยอดขายโตกว่าเดือนอื่น ๆ ก็ได้ หากเรามีการวิเคราะห์สถานการณ์ ปัจจัยภายนอกมาเป็นอย่างดี

2.หาส่วนต่างของยอดขายเดิมที่เคยทำได้และเป้ายอดขายในปีหน้า มาทำกลยุทธ์ เพื่อหาแนวทางให้ได้ยอดขายตามที่ตั้งไว้

ตัวอย่าง : ยอดขายปี 2563 คาดการณ์ว่าจบอยู่ที่ 4,500,000 บาท  และในปีหน้า 2564 ตั้งเป้าไว้ที่ 4,815,000 บาท มีส่วนต่างที่จะต้องทำกลยุทธ์อยู่ที่ 315,000 บาท/ปี

สิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องนำไปดำเนินการต่อจากนี้ ก็คือการวางกลยุทธ์เพื่อให้ยอดขายเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้นั้นเอง โดยส่วนนี้เป็นส่วนที่ค่อนข้างจะสำคัญมาก ๆ และต้องใช้เวลาในการวางแผนยอดขายและกลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อกำหนดทิศทางในการทำงานของปีถัดไป เช่น แผนการตลาด แผนฝึกอบรม แผนการจัดการต้นทุน เป็นต้น จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญและระดับความคิดเป็นพิเศษ

อยากวิเคราะห์ยอดขาย และคิดกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับร้านของคุณ ให้ร้านทำ “กำไร” ได้มากกว่าที่คุณคิด แนะนำคอร์สเรียนออนไลน์ฟรี “สูตรสำเร็จวิเคราะห์ยอดขาย ให้ได้กำไรกว่าที่คิด” (Sales Projection and Analysis)  พบกับ 3 บทเรียนดังนี้

บทที่ 1 การตั้งงบประมาณยอดขายต่อเดือน

บทที่ 2 การวิเคราะห์ยอดขาย เพื่อกำหนดกลยุทธ์ในการเพิ่มยอดขาย

บทที่ 3 กลยุทธ์ในการเพิ่มยอดขาย

คลิกอ่านบทความที่เกี่ยวข้อง